การดูแลยางรถยนต์

การดูแลยางรถยนต์

ด้วยหน้าที่ในการยึดเกาะถนนของยางรถยนต์ อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบกันสะเทือน ที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่ ขับรถได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย

ตลอดการเดินทาง ยางรถยนต์แต่ละเส้น จึงต้องได้มาตรฐาน เหมาะสมกับประเภท และการใช้งานของรถ เพราะประสิทธิภาพของยาง

ขึ้นอยู่กับสภาพของยางแต่ละเส้น

 

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของยางก็คือ ความดันลมยาง ถ้าความดันลมภายในยาง มากหรือน้อยกว่าที่กำหนด จะมีผลทำให้อายุ

การใช้งานของยางสั้นลง เช่น ถ้าความดัน ลมยางมากเกินไป จะมีผลทำให้ดอกยางสึก โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของหน้ายาง เพราะโครงยาง

จะเบ่งตัวเต็มที่ อาจทำให้ยางระเบิดได้ง่าย หากรับแรงกระแทกรุนแรง หรือของมีคม แต่ถ้าความดันลมยางน้อยเกินไปก็จะมีผลทำให้ไหล่ยาง

ด้านข้างทั้งซ้าย และขวาสึก ส่วนตอนกลางของยางจะยุบตัวเข้าไปหรือที่เรามักเรียกว่า ยางแบน

 

การรับน้ำหนัก 

ถ้ารถมีน้ำหนักบรรทุกเกินอัตราส่งผลให้ยางเกิดความร้อนสูงสึกหรอเร็ว แล้วถ้าล้อใดล้อหนึ่งรับน้ำหนักมากกว่าล้ออื่น จะทำให้ล้อนั้น ๆ สึกหรอเร็ว

กว่าปกติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสภาพถนนที่ขรุขระ สภาพรถเกี่ยวกับศูนย์ล้อ เช่น มุมโทอิน*, มุมโท-เอาต์* และมุมแคมเบอร์** ของรถยนต์

ถ้าไม่ถูกต้องตามกำหนดของรถแต่ละรุ่น ก็จะทำให้ยางสึกหรอเร็วและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิธีการขับขี่ของผู้ใช้รถยนต์ การขับรถด้วยความเร็วสูง

หรือการหยุดที่ความเร็วสูง รวมทั้งการเบรกและออกตัว อย่างรุนแรงก็มีผลทำให้ยางสึกหรอเร็วยิ่งขึ้นอีก

การสังเกตว่ายางหมดอายุ หรือใกล้หมดอายุการใช้งานหรือไม่นั้นให้ดูที่สัญลักษณ์รูปหรืออักษร Twi ที่ไหล่ยาง 

รอบ ๆ แก้มยาง ข้างละประมาณ 6 จุด ห่างกันประมาณ 60 องศาจากปลายมุมสามเหลี่ยม เมื่อลากเส้นผ่านหน้ายาง จากไหล่ยางด้านหนึ่งไปยัง

ไหล่ยางอีกด้านหนึ่งภายในร่องยาง ตามแนวที่กล่าวมา จะมีเนื้อยางเป็นเส้นนูนขึ้นมา โดยเฉลี่ยจะมีความสูงจากความลึกของ ร่องยางปกติ

ประมาณ 2 มิลลิเมตร ดังนั้นเมื่อยางถูกใช้งานไปนาน ๆ ควรเปลี่ยนยางใหม่ เนื่องจากถ้าใช้ต่อไปอาจเกิดปัญหาทางด้านประสิทธิภาพการยึด

เกาะถนนและการหยุดรถได้

 

การดูแลรักษา

สามารถทำได้โดยหมั่นเช็กลมยางอยู่เสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง และหลีกเลี่ยงถนนหนทางที่ขรุขระ หลีกเลี่ยงการขับชนฟุตบาท นอกจากนี้

ขณะออกรถไม่ควรเร่งเครื่องยนต์ และออกตัวอย่างรวดเร็ว เพราะจะทำให้ยางสึกเร็วกว่าปกติและไม่ควรจอดรถชิดจนติดกับฟุตบาท เพราะอาจทำให้

โครงยางชำรุด ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้ายางมีแผล และเป็นแผลชำรุดที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่

เท่านี้ก็จะช่วยให้ทั้งคุณและรถปลอดภัย และเดินทางต่อไปได้อย่างมั่นใจเต็มร้อย

 

อธิบายเพิ่มเติม

*มุมโท คือ แนวที่กำหนดให้ล้อคู่หน้าพุ่งตรงไปข้างหน้าจะต้องขนานกันตลอดเวลา ถ้าด้านหน้าแยกออกจากกัน เรียกว่า โทเอาต์ ถ้าหุบเข้าหากัน

เรียกว่า โทอิน

**มุมแคมเบอร์หมายถึง มุมที่หน้ายางด้านล่างที่สัมผัสกับพื้นดิน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเส้นตั้งฉากกับเส้นสลักเพลาล้อหน้าถ้ามุมแคมเบอร์เป็นบวก

ระยะห่างของหน้ายางตอนล่างที่สัมผัสกับผิวถนนจะสั้นกว่าระยะห่างของหน้ายางตอนบน หมายถึง หน้ายางตอนล่างหุบเข้าตอนบนถ่างออก 

ถ้ามุมแคมเบอร์เป็นลบ ผลของระยะห่างหน้ายางก็จะออกมาในทางตรงกันข้าม แคมเบอร์มีผลต่อการขับและการยึดเกาะถนน

 

Visitors: 37,484